วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 9 เวลา 08.30-12.20

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
วันนี้ได้ทำหนังสือนิทานเล่มใหญ่เรื่องหมูน้อยผจญภัย โดยแบ่งกลุ่มช่วยกันทำจนเป็นหนังสือนิทาน 1เล่มในทางกลับกันถ้าให้เด็กอนุบาลทำกิจกรรมเดียวกันนี้เด็กเขาก็จะได้ภาษา ได้จินตนาการในการคิด การเขียนรูป การช่วยเหลือกันในกลุ่ม เด็กก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ระหว่างทำกิจกรรมเด็กก็จะเดินไปดูเพื่อนตามกลุ่ม เช่นรูปเรือ เด็กก็จะเดินไปดูเพื่อนว่าเรือของเขานั้นเหมือนกับของเพื่อนหรือเปล่า นิทานที่เด็กทำนั้นเด็กๆจะเป็นคนคิดขึ้นมาเอง




ภาพกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 8 เวลา 08.30-12.20


สอบกลางภาค


                                                                 หมูสามตัว

     

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7 เวลา 08.30-12.20
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
ได้ทำกิจกรรมการเล่านิทานต่อกัน คือวาดรูปที่ตัวเองชอบแล้วนำรูปออกไปเล่านิทานต่อกัน สิ่งที่ได้คือ การพูด การคิดจิตนาการในการเล่านิทาน การเขียน การเรียบเรียงประโยค เมื่อไปสอนเด็กสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
  - ไม่ควรเรียงลำดับในการทำกิจกรรม ให้เด็กทำตามความสมัครใจ
- ให้เด็กออกมาทำกิจกรรมด้วยตนเองจะดีกว่า



การประเมินภาษาของเด็ก
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย เป็นวิธีที่ดีที่สุดคือ การสังเกต สนทนา และการจดบันทึกเรื่องการพูด การเขียนประเมินได้จากรายละเอียดภาพว่ามีมากขนาดไหน ไม่ประเมิจว่าสวยหรือไม่สวย
2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก คือ ต่อยอดสิ่งที่เด็กทำดีแล้วให้ดียิ่งขึ้น บันทึกในสิ่งที่เด็กทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ต้องส่งเสริมเด็กก้าวสู้พัฒนาการทางภาษาให้ดียิ่งขึ้น
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย คือ ดูเด็กจากหลายๆบริบท หลายๆที่ เช่น เวลาอยู่กับเพื่อนหรืออยู่กับครู
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง คือ ผลงานที่เด็กทำจะถูกติดตามห้องเพื่อให้เด็กเห็นผลงานเห็นพัฒนาการของตนเองและเพื่อนๆ
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงานของเด็ก คือ ครูต้องดูกระบวนการคิดการทำงานของเด็กไม่ใช่ดูผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ของเด็กโดยไม่สนใจว่าเด็กทำผลงานชิ้นนั้นขึ้นมาได้ยังไง
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล เพราะเด็กมีกระบวนการคิดที่แตกต่าง ครูที่ดีต้องคิดให้นอกกรอบอย่าตีกรอบความคิดให้เด็ก
*ผลงานที่เด็กทำต้องให้เด็กบรรยายด้วยโดยที่ครูเป็นคนเขียนถ้าเด็กเขียนได้ก็ให้เด็กเขียน
บันทึกการเขียน คือ ให้เด็กเขียนอะไรก็ได้ จะเกิดขึ้นในเด็กอนุบาล 3
ไอศกรีมที่กำลังละลาย