วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่19 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลา 08.30-12.20
ความรู้ที่ได้รับคือ
วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดประการณ์ทางภาษา
1.การจัดที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
เป็นการเน้นให้เด็กรู้จักส่วนต่างๆของภาษา การประสมคำ ความหมายของคำและนำมาประกอบเป็นประโยค การจัดแบบนี้ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติในการใช้ภาษาของเด็ก
และไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
Kerneth Goodman เป็นคนที่เสนอแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ ( Whole Language) การสอนภาษาแบบธรรมชาติ เป็นระบบความเชื่อปรัชญาม่ใช่การสอนล้วนๆ การจัดกิจกรรมคือต้องทำให้เด็กคิดว่า ภาษาอยู่รอบตัว สิ่งที่ต้องตระหนักคือ "เด็กเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ไหม" การพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติต้องบูรณาการเข้ากับทุกกิจกรรม และจัดตามความสนใจของเด็ก เช่น สภาพอากาศ อาหาร ต้องมีการร่วมมือกับผู้ปกครองในการเรียนภาษาของเด็ก การเล่านิทาน เด็กก็จะได้รู้จักคำศัพท์และการเรียบเรียงประโยคที่ถูกต้อง
การอ่านมีจุดมุ่งหมายคือถอดรหัส
-อ่านอิสระ เด็กอ่านตามลำพัง
-อ่านร่วมกัน คือต้องการให้เด็กเข้าใจเรื่องราว อ่านกันเป็นกลุ่ม เด็กได้ความคิดรวบยอด เด็กได้รู้ว่าการอ่านหนังสือคืออ่านจากซ้ายไปขวา
-ยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด อ่าน เขียน แม้จะค้านกับความคิดของเรา อย่าไปคาดหวังว่าจะเขียนได้ดีเหมือนเด็กปฐม

                                                           

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20


วันนี้สรุปที่เพื่อนพรีเซ็นต์ ได้ว่าพัฒนาการทางภาษาของเด็กจะไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ผู้ที่เลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก  และอีกกลุ่มหนึ่งที่สรุปได้ก็คือ
เนสเซล
1-10 เดือน เด็กจะแยกเสียงได้
10-18 เดือน เด็กควบคุมคำที่ออกเสียงจากคำที่จำได้
18-24 เดือน เด็กหัดออกสียง
ฟีนีย์
1.เรียนรู้จากการเล่นจะทำให้เด็กมีสมาธิ เช่นการเล่นบทบาทสมมุตคือเด็กจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 เมื่อเด็กเล่นจะถูกกระตุ้นให้เกิดสมาธิ “ประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กมาจากการเล่น
2.การใช้ปฏิสัมพันธ์กับครู
- ต่อเนื่อง
- กลุ่มย่อย
- กลุ่มใหญ่
และวันนี้ได้ทำกิจกรรมวาดรูปสิ่งของที่ตัวเองรักมากตอนที่ยังเป็นเด็ก ดิฉันเลยวาดรูปการ์ตูนกล้วยจอมซน B1 กับ B2 แล้วก็ออกไปพรีเซ็นต์ให้เพื่อนๆฟังว่าทำไมถึงชอบ ซึ่งดิฉันก็ได้อธิบายว่าที่ชอบเจ้ากล้วยหอมเพราะว่าเป็นการ์ตูนเรื่องโปรดแม่ก็เลยซื้อตุ๊กตากล้วยหอมให้สองตัวเลยและจำได้ว่าแม่ซื้อกระเป๋ากล้วยหอมให้ด้วยตอนอยู่อนุบาลปัจจุบันไม่อยู่แล้วเพราะมันขาดหายไปไหนไม่รู้  สำหรับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ก็คือ องค์ประกอบของภาษา

   

   
                                                              ผลงานกล้วยหอมจอมซน
The Road

องค์ประกอบของภาษา
1.Phonology
- ระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นภาษา
2.Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีหลายความหมาย
3.Syntar
- ระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค
4.Pragmatic
- ระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาตามสถานการณ์และถูกกาลเทศะ
แนวคิวนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาของเด็ก
1.สกินเนอร์ Skinner สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางภาษา ให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2.John B. Watson เป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คืออยากให้เด็กเป็นอะไรผู้ใหญ่เป็นคนสร้างได้โดยไม่สนว่าเด็กจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม
นักพฤติกรรมนิยม
-ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-เด็กสังเกตและเรียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือครอบครัว
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
-เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ภาษาเป็นสิ่งให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
ไวกอสกี้ Vygotsky
-สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
กลีเซล Arnold Gesell (เน้นร่างกาย)
-เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
-ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-เด็กบางคนอาจมีความพร้อมด้านร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านอวัยวะ
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่า ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
Noam Chomsky
-ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
-การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
-มนุษย์เกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD (Langnge Acquisition Deviec)
O. Hobart Mowrer คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทางภาษา (ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียง)
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
-เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-นำไปสู่การกำหนดกระบวยกาที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger 3 กลุ่ม
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา (ครูแบบที่1)
-นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้
-เสียงไวยากรณ์ประกอบเป็นวลี
2.เน้นที่ความหมายของภาษา (มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา)
-เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-เน้นการสื่อความหมาย จัดประสบการณ์
-ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
5172






บันทึกอนุทินครั้งที่ 4






เพื่อนมารายงานเนื้อหาซึ่งแต่ละกลุ่มได้หัวข้อไม่เหมือนกัน ดิฉันอยู่กลุมที่1 ได้หัวข้อ ความหมายของภาษา ซึ่งวันที่จะรายงานมันก็มีอุปสรรคอยู่นิดหน่อยในเรื่องของการนำวีดีโอเข้าสู่งานนำเสนอ และกลุ่มของดิฉันได้รายงานเป็นกลุ้มแรกด้วยตื่นเต้นมาก แต่มันก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


                                   
                                                   รับน้องใหญ่วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


ความหมายของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
- ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
- ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
- ภาษาช่วยในการจรรโลงใจ
ทักษะทางภาษาประกอบไปด้วย การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์
ที่เกี่ยวข้องกับภาษา คือ การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษา มี 2 ขั้นตอนคือ
1. การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์
2.การปรับความเข้าใจเดิมที่มีเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation) เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
เมื่อเกิดการดูดซึมและปรับความเข้าใจจะเกิด ความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
ทฤษฎีของเพียเจต์ที่เกี่ยวข้องกับภาษามี 4 ขั้น
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) 0-2 ปีเรียนรู้จากการสัมผัสต่างๆ เรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-4 ปี (Preconceptual Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมุติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน อายุ 4-7ปี (Intuitive Period) ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่ม สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) 7-11 ปี
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operation Stage) 11-15 ปี

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
  เด็กค่อยๆสร้างความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
วัย ความสามารถ ประสบการณ์เดิมของเด็ก ดูได้จากภูมิหลังของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
อิทธิพลทางพันธุกรรม เช่นโรคประจำตัว ออทิสติก
อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม จากพ่อแม่ ชุมชน โรงเรียน ครอบครัว
3.การจำ
การเห็นบ่อยๆ เช่นบอร์ดที่ติดตามห้อง
การทบทวนเป็นระยะ ควรทบทวนกล่าวยำกิจกรรมที่เด็กทำไป
การจัดเป็นหมวดหมู่ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่
การใช้คำสัมผัส เรียนรู้คำสัมผัสเกี่ยวกับไม้ม้วน เป็นต้น
4.การให้แรงเสริม
แรงเสริมทางบวก เช่น คำชม รางวัล
แรงเสริมทางลบ ให้เมื่อเด็กทำไม่ถูกต้องคือกล่าวตักเตือน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 1