ความหมายของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
- ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
- ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
-
ภาษาช่วยในการจรรโลงใจ
ทักษะทางภาษาประกอบไปด้วย
การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์
ที่เกี่ยวข้องกับภาษา คือ
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษา มี 2 ขั้นตอนคือ
1. การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้
และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์
2.การปรับความเข้าใจเดิมที่มีเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
(Accommodation)
เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
เมื่อเกิดการดูดซึมและปรับความเข้าใจจะเกิด
ความสมดุล (Equilibrium)
กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
ทฤษฎีของเพียเจต์ที่เกี่ยวข้องกับภาษามี 4 ขั้น
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
(Sensorimotor Stage) 0-2
ปีเรียนรู้จากการสัมผัสต่างๆ เรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล
(Preoperational Stage) 2-4 ปี (Preconceptual
Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมุติ
การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อต่างๆรอบตัว
ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
อายุ 4-7ปี (Intuitive Period)
ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง
ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่ม
สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
(Concrete Operational Stage) 7-11
ปี
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม
(Formal Operation Stage) 11-15 ปี
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
เด็กค่อยๆสร้างความเข้าใจเป็นลำดับขั้น
ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
วัย ความสามารถ
ประสบการณ์เดิมของเด็ก ดูได้จากภูมิหลังของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
อิทธิพลทางพันธุกรรม
เช่นโรคประจำตัว ออทิสติก
อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
จากพ่อแม่ ชุมชน โรงเรียน ครอบครัว
3.การจำ
การเห็นบ่อยๆ
เช่นบอร์ดที่ติดตามห้อง
การทบทวนเป็นระยะ
ควรทบทวนกล่าวยำกิจกรรมที่เด็กทำไป
การจัดเป็นหมวดหมู่
จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่
การใช้คำสัมผัส
เรียนรู้คำสัมผัสเกี่ยวกับไม้ม้วน เป็นต้น
4.การให้แรงเสริม
แรงเสริมทางบวก
เช่น คำชม รางวัล
แรงเสริมทางลบ
ให้เมื่อเด็กทำไม่ถูกต้องคือกล่าวตักเตือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น