บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20
วันนี้สรุปที่เพื่อนพรีเซ็นต์ ได้ว่าพัฒนาการทางภาษาของเด็กจะไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ผู้ที่เลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก และอีกกลุ่มหนึ่งที่สรุปได้ก็คือ
เนสเซล
1-10 เดือน
เด็กจะแยกเสียงได้
10-18 เดือน เด็กควบคุมคำที่ออกเสียงจากคำที่จำได้
18-24 เดือน
เด็กหัดออกสียง
ฟีนีย์
1.เรียนรู้จากการเล่นจะทำให้เด็กมีสมาธิ
เช่นการเล่นบทบาทสมมุตคือเด็กจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 เมื่อเด็กเล่นจะถูกกระตุ้นให้เกิดสมาธิ “ประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กมาจากการเล่น”
2.การใช้ปฏิสัมพันธ์กับครู
- ต่อเนื่อง
- กลุ่มย่อย
- กลุ่มใหญ่
และวันนี้ได้ทำกิจกรรมวาดรูปสิ่งของที่ตัวเองรักมากตอนที่ยังเป็นเด็ก
ดิฉันเลยวาดรูปการ์ตูนกล้วยจอมซน B1 กับ B2 แล้วก็ออกไปพรีเซ็นต์ให้เพื่อนๆฟังว่าทำไมถึงชอบ
ซึ่งดิฉันก็ได้อธิบายว่าที่ชอบเจ้ากล้วยหอมเพราะว่าเป็นการ์ตูนเรื่องโปรดแม่ก็เลยซื้อตุ๊กตากล้วยหอมให้สองตัวเลยและจำได้ว่าแม่ซื้อกระเป๋ากล้วยหอมให้ด้วยตอนอยู่อนุบาลปัจจุบันไม่อยู่แล้วเพราะมันขาดหายไปไหนไม่รู้
สำหรับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ก็คือ องค์ประกอบของภาษา
ผลงานกล้วยหอมจอมซน
องค์ประกอบของภาษา
1.Phonology
- ระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นภาษา
2.Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีหลายความหมาย
3.Syntar
- ระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค
4.Pragmatic
- ระบบการนำไปใช้
-
ใช้ภาษาตามสถานการณ์และถูกกาลเทศะ
แนวคิวนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาของเด็ก
1.สกินเนอร์ Skinner
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางภาษา
ให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2.John B. Watson เป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
คืออยากให้เด็กเป็นอะไรผู้ใหญ่เป็นคนสร้างได้โดยไม่สนว่าเด็กจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม
นักพฤติกรรมนิยม
-ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-เด็กสังเกตและเรียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือครอบครัว
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
-เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ภาษาเป็นสิ่งให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
ไวกอสกี้ Vygotsky
-สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
กลีเซล Arnold Gesell (เน้นร่างกาย)
-เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
-ความพร้อม
วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-เด็กบางคนอาจมีความพร้อมด้านร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านอวัยวะ
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่า
ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
Noam Chomsky
-ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
-การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
-มนุษย์เกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า
LAD (Langnge Acquisition Deviec)
O. Hobart Mowrer คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง
เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทางภาษา (ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียง)
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
-เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-นำไปสู่การกำหนดกระบวยกาที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger 3
กลุ่ม
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
(ครูแบบที่1)
-นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้
-เสียงไวยากรณ์ประกอบเป็นวลี
2.เน้นที่ความหมายของภาษา
(มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา)
-เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-เน้นการสื่อความหมาย
จัดประสบการณ์
-ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น